หมายเหตุ การแยกจำนวน 1-4 ที่เป็นสัพพนามออกจากตารางสังขยา
สังขยานั้นใช้ขยายนามนามเพื่อบอกจำนวน/ลำดับ ฉะนั้น สังขยาทั้งหมดจึงเป็นคุณนามโดยธรรมชาติ แม้แต่สังขยาจำนวน 99 ขึ้นไป (เอกูนสตํ) ที่ท่านกำหนดเป็นพิเศษให้เป็นนามนาม ก็ยัง(กลับไป)ใช้เป็นคุณนาม(ตามธรรมชาติเดิม)ได้
ในหนังสือบาลีไวยากรณ์ ท่านได้ระบุไว้อีกว่า จำนวน 1-4 เป็นสัพพนาม โดยอ้างคัมภีร์ศัพทศาสตร์ ดังนี้
“ปกติสังขยานี้ ในคัมภีร์ศัพทศาสตร์ท่านแบ่งเป็น ๒ พวก
ตั้งแต่ เอก ถึง จตุ จัดเป็น สัพพนาม
ตั้งแต่ ปญฺจ ไป เป็น คุณนาม.”
ในการใช้งานจริง เอก-จตุ สังขยาคุุณนาม หรือ เอก-จตุ สัพพนาม นับ/แทน/ประกอบ นามนามได้ ไม่มีอะไรแตกต่างกัน ไม่มีการระบุว่าเมื่อ เอก-จตุ สัพพนาม ไปนับ/แทน/ประกอบ นามนาม จะมีการใช้พิเศษไปกว่า เอก-จตุ สังขยาคุณนาม อย่างไร (ยกเว้น เอก สัพพนาม เท่านั้น ที่แจกวิภัตติต่างกัน) ทั้งเมื่อนำสังขยาไปนับนามนาม ก็พิจารณาแต่เพียงว่า เป็นสังขยาคุณนาม (1-98) หรือสังขยานามนาม (99 ขึ้นไป) เท่านั้น ไม่ได้พิจารณาว่าเป็นสัพพนามหรือไม่
ฉะนั้น ในตารางการจัดปกติสังขยา ได้แยกเรื่อง เอก-จตุ สัพพนาม ออกจากตารางสังขยา โดยระบุการแจก เอก สัพพนาม ไว้ในชีทเรื่องสัพพนาม ส่วนท้ายตาราง ในชีทเรื่องสังขยานี้ กล่าวให้ทราบแต่เพียงว่า เอก-จตุ ท่านว่าเป็นสัพพนามด้วย ทั้งนี้ เพื่อให้ตารางอ่านง่ายดูง่ายสำหรับนักเรียน ไม่เพิ่มความซับซ้อนความลำบากแก่นักเรียนโดยไม่จำเป็น เพราะใส่สิ่งที่ไม่เกี่ยวข้องกันโดยตรงเข้ามา
การท่อง หน้า 1: (ไม่ต้องท่องส่วนที่เป็นพื้นสีเทา)
ปกติสังขยา (นับจำนวน)
เอก ทฺวิ ติ จตุ ปญฺจ ฉ สตฺต อฏฺฐ นว ทส เอกาทส ... เอกูนจตฺตาฬีส อูนจตฺตาฬีส [39] ...
เอกูนปญฺญาส อูนปญฺญาส [49] ปญฺญาส ปณฺณาส [50]
ท่องโดยไม่ต้องว่าคำแปลไทยหรือตัวเลข. (เหมือนว่า one two three four five ... fifty)
และนับนิ้วไปด้วย โดยดูให้นิ้วตรงกับจำนวนที่กำลังนับ
(เช่น ไม่ใช่ออกเสียงว่า "ปญฺจ" แต่นิ้วอยู่ที่ 6, หรือออกเสียงว่า "เตรส" แต่นิ้วอยู่ที่ 14)
ตัังแต่ 10 20 30 40 ... ให้ว่าดังนี้
ทส, วีส, ตึส, จตฺตาฬีส, ปญฺญาส, สฏฺฐี, สตฺตติ, อสีติ, นวุติ,
สตํ, สหสฺสํ, ทสสหสฺสํ, นหุตํ; สตสหสฺสํ, ลกฺขํ; ทสสตสหสฺสํ, โกฏิ
แล้วท่อง:
การแจกปกติสังขยา
เอก (1) คุณนาม เอกวจนะ
ปุงลิงค์ เอโก เอกํ เอเกน ...
อิตถีลิงค์ เอกา เอกํ ...
นปุงกลิงค์ เอกํ เอกํ ...
[เอก (1) สัพพนาม ดูในเรื่องสัพพนาม: ศัพท์ที่แจกเหมือน ย ศัพท์]
ทฺวิ (2) ในไตรลิงค์ เทฺว* เทฺว ทฺวีหิ ... ทฺวีสุ
อุภ (ทั้ง 2) ในไตรลิงค์ อุโภ อุโภ ... อุโภสุ
ปญฺจ (5) ในไตรลิงค์ ปญฺจ ปญฺจ ... ปญฺจสุ ตั้งแต่ ปญฺจ (5) ถึง อฏฺฐารส (18) แจกอย่างนี้.
* อ่านว่า ทฺเว (ทฺ ออกครึ่งเสียง) ไม่ใช่ เทวะ
ติ (3) ปุงลิงค์ ตโย ตโย ... อิตถีลิงค์ ติสฺโส ติสฺโส ... นปุงกลิงค์ ตีณิ ตีณิ ...
จตุ (4) ปุงลิงค์ ... ...
เอกูนวีส (19) อิตถีลิงค์ เอกวจนะ เอกูนวีส เอกูนวีสํ เอกูนวีสํ เอกูนวีสาย ...
ตั้งแต่ เอกูนวีส (19) ถึง อฏฺฐนวุติ (98)
ถ้าเป็น อ การันต์ แจกอย่าง เอกูนวีส
ถ้าเป็น อิ การันต์ แจกอย่าง รตฺติ
ถ้าเป็น อี การันต์ แจกอย่าง นารี
การท่อง หน้า 2: (ไม่ต้องท่องส่วนที่เป็นพื้นสีเทา ยกเว้นในตาราง)
การจัดปกติสังขยา จัดปกติสังขยาตาม "ลิงค์" จัดปกติสังขยาตาม "วจนะ" จัดปกติสังขยาตาม "การแจกวิภัตติ" ในตาราง พอคล่องแล้ว ให้ว่าตัวเลขเป็นบาลีด้วย เช่น |
ปูรณสังขยา (นับลำดับ) |
Download PDF
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น