ชีทประกอบการศึกษา:
นาม (นาม-นาม-name) แปลว่า ชื่อ
ศัพท์ (สทฺท-ศพฺท-sound) แปลว่า เสียง
ในทางภาษา ศัพท์ หมายถึง เสียง (หรือ ตัวหนังสือ ที่ใช้แทนเสียงนั้น) ที่มีความหมายเป็นที่เข้าใจกัน ใช้พูดหรือเขียนสื่อสารกันได้
นาม นามศัพท์ ในภาษาบาลี แบ่งเป็น 3 คือ
* นาม(ศัพท์) เป็นชื่อเรียกรวมของนามทั้ง 3
1. นามนาม หมายถึง นามหรือชื่อที่ใช้เรียกคน, สัตว์, ที่, สิ่งของ, สภาวะ ต่างๆ แบ่งเป็น 2 คือ
2. คุณนาม หมายถึง นามที่แสดงลักษณะของนามนาม* ให้รู้ว่าดีหรือชั่ว เป็นต้น แบ่งเป็น 3 ชั้น คือ
3. สัพพนาม หมายถึง นามที่ใช้แทนนามนามที่ออกชื่อมาแล้ว เพื่อไม่ให้ซ้ำซาก ซึ่งไม่เพราะหู เป็นต้น แบ่งเป็น 2 คือ
นามศัพท์ ทั้ง 3 นี้ เมื่อจะนำไปใช้ในประโยค ย่อมประกอบด้วย
* ความจริง ลิงค์เป็นลักษณะประจำของนามนามแต่ละศัพท์อยู่แล้ว แม้ยังไม่ประกอบเข้าในประโยค เช่น ชน เป็นปุงลิงค์ เมื่อใช้เป็นประธานในประโยค ได้รูปเป็น ชโน (ปฐมาวิภัตติ เอกวจนะ)
ลิงค์ แปลว่า เพศ หมายถึง เพศของคำนาม
ลิงค์แบ่งเป็น 3 คือ
คุณนามและสัพพนามเป็นได้ทั้ง 3 ลิงค์
* ลิงค์ของคุณนาม
คุณนามเป็นได้ 3 ลิงค์ (เปลี่ยนลิงค์ตามนามที่มันไปขยาย)
ถูโล เถโร ปุ.; ถูลา เถรี อิต.; ถูลํ กุลํ นปุ.
* ลิงค์ของสัพพนาม
ปุริสสัพพนาม: ต (เขา) เป็น 3 ลิงค์ ตุมฺห/อมฺห เป็น 2 ลิงค์ (ปุ. อิต.)
วิเสสนสัพพนาม เป็นได้ 3 ลิงค์ (เปลี่ยนลิงค์ตามนามที่มันไปขยาย)
ปุงลิงค์ | อิตถีลิงค์ | นปุงสกลิงค์ | |||
อมโร | เทวดา | อจฺฉรา | นางอัปสร | องฺคํ | องค์ |
อาทิจฺโจ | พระอาทิตย์ | อาภา | รัศมี | อารมฺมณํ | อารมณ์ |
ตัวอย่าง นามนามศัพท์เดียว มีรูปเดียว เป็นได้ 2 ลิงค์
ศัพท์เดิม | ปุงลิงค์ | นปุงสกลิงค์ | คำแปล |
อกฺขร | อกฺขโร | อกฺขรํ | อักขระ, อักษร |
อคาร/อาคาร | อคาโร/อาคาโร | อคารํ/อาคารํ | เรือน, อาคาร |
อุตุ | อุตุ | อุตุ | ฤดู |
ทิวส | ทิวโส | ทิวสํ | วัน |
มน | มโน | มนํ | ใจ |
สํวจฺฉร | สํวจฺฉโร | สํวจฺฉรํ | ปี |
ตัวอย่าง นามนามมีมูลศัพท์เป็นอย่างเดียว เปลี่ยนสระที่สุด (โดยลงอิตถีโชตกปัจจัย) เป็น 2 ลิงค์
ศัพท์เดิม | ปุงลิงค์ | อิตถีลิงค์ | คำแปล |
อรหนฺต | อรหา อรหํ | อรหนฺตี | พระอรหันต์ |
อาชีวก | อาชีวโก | อาชีวิกา | นักบวช |
อุปาสก | อุปาสโก | อุปาสิกา | อุบาสก, อุบาสิกา |
กุมาร | กุมาโร | กุมารี/กุมาริกา | เด็ก |
ขตฺติย | ขตฺติโย | ขตฺติยานี/ขตฺติยา | กษัตริย์ |
โคณ | โคโณ | คาวี | โค |
โจร | โจโร | โจรี | โจร |
ญาตก | ญาตโก | ญาติกา | ญาติ |
ตรุณ | ตรุโณ | ตรุณี | ชายหนุ่ม, หญิงสาว |
เถร | เถโร | เถรี | พระเถระ, พระเถรี |
ทารก | ทารโก | ทาริกา | เด็กชาย, เด็กหญิง |
เทว | เทโว | เทวี | พระเจ้าแผ่นดิน พระราชเทวี |
นร | นโร | นารี | คน (ชาย - หญิง) |
ปริพฺพาชก | ปริพฺพาชโก | ปริพฺพาชิกา | นักบวช (ชาย - หญิง) |
ภิกฺขุ | ภิกฺขุ | ภิกฺขุนี | ภิกษุ, ภิกษุณี |
ภวนฺต | ภวํ | โภตี | ผู้เจริญ |
มนุสฺส | มนุสฺโส | มนุสฺสี | มนุษย์ (ชาย – หญิง) |
ยกฺข | ยกฺโข | ยกฺขี ยกฺขินี | ยักษ์, ยักษิณี |
ยุว | ยุวา | ยุวตี | ชายหนุ่ม, หญิงสาว |
ราช | ราชา | ราชินี | พระเจ้าแผ่นดิน พระราชินี |
สข | สขา | สขี | เพื่อน (ชาย - หญิง) |
หตฺถี | หตฺถี | หตฺถินี | ช้างพลาย, ช้างพัง |
วจนะ แปลว่า คำ, คำพูด
ในทางไวยากรณ์ วจนะ แบ่งเป็น 2 คือ
วจนะทั้ง 2 นี้ รู้ได้จากวิภัตติที่ลงท้ายศัพท์นั้นๆ เช่น
ปุริโส ชายคนเดียว, กุลํ ตระกูลเดียว เป็นเอกวจนะ
ปุริสา ชายหลายคน, กุลานิ ตระกูลหลายตระกูล เป็นพหุวจนะ
วิภัตติ แปลว่า แจก, จำแนก
วิภัตติ หมายถึง สิ่งที่ใช้จำแนกคำ (นามศัพท์) ตามหน้าที่ (การก) ต่างๆ ในประโยค และตามวจนะ โดยลงวิภัตตินั้นที่ท้ายศัพท์
วิภัตติ เมื่อลงท้ายนามศัพท์แล้ว เปลี่ยนแปลงรูปศัพท์ไปต่างๆ ตามกฎเกณฑ์ในลิงค์ และการันต์ นั้นๆ
(การที่ลงวิภัตติท้ายนามศัพท์แล้ว มักเปลี่ยนแปลงรูปศัพท์ไปต่างๆ ตามกฎเกณฑ์ที่กำหนดไว้ สำหรับลิงค์ และการันต์ นั้นๆ
ฉะนั้น จึงสังเกตลิงค์ของศัพท์ ได้จากศัพท์ที่ลงวิภัตติแล้วนั่นเอง
โดยเฉพาะรูปศัพท์ที่ไม่มี/ไม่ค่อยมีในลิงค์อื่นๆ เช่น แม้ไม่ทราบมาก่อนว่า ศัพท์ว่า โอทน อิทฺธิ วตฺถ เป็นลิงค์อะไร
แต่เมื่อเห็นศัพท์ โอทโน ก็คาดเดาได้ว่าน่าจะเป็นปุงลิงค์, อิทฺธิยา น่าจะเป็นอิตถีลิงค์ และ วตฺถานิ น่าจะเป็นนปุงสกลิงค์ เป็นต้น)
วิภัตตินั้นมี 14 ตัว แบ่งเป็น เอกวจนะ 7 พหุวจนะ 7 ดังนี้
เอกวจนะ | พหุวจนะ | ชื่อเรียกวิภัตติตามอรรถกถา-ฎีกา | |||
ปฐมา | ที่ 1 | สิ | โย | ปจฺจตฺตวจนํ | |
ทุติยา | ที่ 2 | อํ | โย | อุปโยควจนํ | |
ตติยา | ที่ 3 | นา | หิ | กรณวจนํ | |
จตุตฺถี | ที่ 4 | ส | นํ | สมฺปทานวจนํ | |
ปญฺจมี | ที่ 5 | สฺมา | หิ | นิสฺสกฺกวจนํ | |
ฉฏฺฐี | ที่ 6 | ส | นํ | สามี/สามิวจนํ | |
สตฺตมี | ที่ 7 | สฺมึ | สุ | ภุมฺมวจนํ | |
(อาลปนะ) | (สิ | โย) |
(ดู แบบท่องวิภัตตินาม และอายตนิบาต)
อาลปนวิภัตติ ไม่มีวิภัตติเป็นของตนเอง แต่ยืมปฐมาวิภัตติมาใช้
นามศัพท์ เมื่อลงวิภัตติแล้ว ก็มีความหมายต่อเนื่องกับคำอื่นได้ คำที่เชื่อมต่อความหมายของศัพท์ เรียกว่า อายตนิบาต (ตรงกับบุพบทในภาษาไทยโดยมาก)
อายตนิบาต (คําแปลไทย เชื่อมต่อความหมายระหว่างศัพท์) มีดังนี้
วิภัตติฝ่ายเอกวจนะ | วิภัตติฝ่ายพหุวจนะ | |
ปฐมา | อ. (อันว่า)* | *อ. - ท. (อันว่า … ทั้งหลาย) |
ทุติยา | ซึ่ง, สู่, ยัง, สิ้น, ตลอด, กะ, เฉพาะ | ซึ่ง-ท., … ยัง-ท. |
ตติยา | ด้วย, โดย, อัน, ตาม, เพราะ, มี, ด้วยทั้ง | ด้วย-ท., … อัน-ท. |
จตุตฺถี | แก่, เพื่อ, ต่อ | แก่-ท., … ต่อ-ท. |
ปญฺจมี | แต่, จาก, กว่า, เหตุ, เพราะ | แต่-ท., … เพราะ-ท. |
ฉฏฺฐี | แห่ง, ของ, เมื่อ | แห่ง-ท., … เมื่อ-ท. |
สตฺตมี | ใน, ใกล้, ที่, ณ, บน, ครั้นเมื่อ, ในเพราะ | ใน-ท., … ในเพราะ-ท. |
อาลปนะ | แน่ะ, ดูก่อน, ข้าแต่ | แน่ะ-ท., … ข้าแต่-ท. |
* อ. (อันว่า) และ ท. (ทั้งหลาย) ใช้เฉพาะแปลโดยพยัญชนะ. ส่วนการแปลโดยอรรถ ปฐมาวิภัตติ ไม่ต้องมีคำอะไรนำหน้า และคำว่าทั้งหลาย ให้เขียนเต็ม ไม่ย่อ.
ปฐมาวิภัตติ และอาลปนะ ไม่มีสำเนียงอายตนิบาตคำเชื่อมต่อ แต่ใช้คำว่า ‘อันว่า’ และ ‘แน่ะ ดูก่อน ข้าแต่’ แทน ตามลำดับ เพื่อเป็นเครื่องสังเกตวิภัตติ
ความจริง “อันว่า” ไม่ใช่อายตนิบาต เพราะไม่ได้เชื่อมต่อคำใดๆ เข้าด้วยกัน ไม่มีในแบบไวยากรณ์ แต่ภายหลังมีการกำหนดให้แปลเพิ่มเข้ามาด้วย
(ดู แบบท่องวิภัตตินาม และอายตนิบาต)
ปฐมาวิภัตติ ทำหน้าที่ 2 อย่าง คือ
1 หมายถึง ประโยคในวาจกทั้ง 5 ซึ่งต้องมีกิริยาคุมพากย์ (กิริยาใหญ่) เสมอ
2 หมายถึง ประโยคทางสัมพันธ์ ประเภทหนึ่ง ซึ่งไม่มีกิริยาคุมพากย์ และไม่อยู่ในประเภทของประโยคทั้ง 5 นั้น
ลิงฺคตฺถ เป็นชื่อเรียกประธานของ ประโยคทางสัมพันธ์ ประเภทหนึ่ง ซึ่งไม่มีกิริยาคุมพากย์
(ลิงฺค-อตฺถ อรรถแห่งลิงค์ คือบอกเพียงว่าเป็นนามนามนั้น เป็นลิงค์ใด มิได้บอกว่าเป็นประธานของกิริยาใดๆ - เพราะไม่ได้ทำกิริยา)
สยกัตตา (ผู้ทำเองเป็นประธาน) เหตุกัตตา (ผู้ใช้ให้ทำเป็นประธาน) วุตตกัมม (กรรมเป็นประธาน)
กิริยาคุมพากย์ = กิริยาคุมประโยค = กิริยาใหญ่ = กิริยาหลัก
พากย์ (วากฺยํ) = ประโยค พากยางค์ (วากฺย+องฺค) = ส่วนของประโยค, วลี
การันต์ คือ อักขระที่สุดแห่งศัพท์* (สระท้ายศัพท์, สระท้ายคำ. การ–อักษร, อนฺต–ที่สุด)
การันต์ มี 6 คือ อ อา อิ อี อุ อู
การันต์จําแนกตามลิงค์ ดังนี้
ปุงลิงค์ | มีการันต์ 5 คือ | อ | อิ | อี | อุ | อู |
อิตถีลิงค์ | มีการันต์ 5 คือ | อา | อิ | อี | อุ | อู |
นปุงสกลิงค์ | มีการันต์ 3 คือ | อ | อิ | อุ |
การันต์พิเศษบางศัพท์
โค (วัว) = คฺ + โอ โอการันต์ ปุงลิงค์ ไม่เจาะจงว่าตัวผู้หรือตัวเมีย
สา (หมา) = สฺ + อา อา การันต์ ปุงลิงค์ ไม่เจาะจงว่าตัวผู้หรือตัวเมีย
กึ (หรือ, อะไร) = กฺ + อิ+ ํ นิคคหิตการันต์ 3 ลิงค์ เป็นสัพพนาม (หรือเป็นอัพยยศัพท์ ไม่มีลิงค์)
* เรียกว่า สระที่สุดแห่งศัพท์ ก็ได้ เพราะในภาษาบาลี คำต้องลงท้ายด้วยสระเท่านั้น ลงท้ายด้วยพยัญชนะไม่ได้ (ยกเว้น 'พยัญชนะพิเศษ' คือ นิคคหิต ตัวอย่างเช่น กึ - กิํ)
ต่างจากภาษาสันสกฤต ที่ลงท้ายคำด้วยพยัญชนะได้ เช่นคำว่า วสี–วศินฺ ผู้มีอำนาจ, ปุริส–ปุรุษฺ บุรุษ, วิชฺชุ-วิทฺยุตฺ สายฟ้า, พุทฺธํ-พุทฺธมฺ
การแจกวิภัตติ คือการลงวิภัตติท้ายนามนามแต่ละศัพท์ ตั้งแต่ปฐมาวิภัตติ เอกวจนะ จนถึงอาลปนะ พหุวจนะ จนครบ
แสดงรูปศัพท์ที่มีการเปลี่ยนแปลง(หรือไม่เปลี่ยน)แล้ว
วิภัตตินั้น แจกตามการันต์และลิงค์ ศัพท์ที่การันต์และลิงค์เหมือนกัน ให้แจกเป็นแบบเดียวกัน
เช่น ปุริส อาจริย ปณฺฑิต เป็น อ การันต์ ปุงลิงค์ เช่นเดียวกัน ให้แจกตามแบบ อ การันต์ ปุงลิงค์ (ในแบบ แจก ชน/ปุริส ศัพท์ ให้ดูเป็นตัวอย่าง)
(ดู แบบแจกนามนามใน 3 ลิงค์ และตัวอย่างนามนาม)
กติปยศัพท์ หมายถึง ศัพท์จำนวนเล็กน้อย 12 (และ 6) ศัพท์ มีวิธีแจกเป็นของตนเองโดยเฉพาะ ไม่แจกอย่างศัพท์ทั่วๆ ไป ได้แก่
(หรือเรียกอีกอย่างว่า ปกิณณกศัพท์ ศัพท์เรี่ยราย เบ็ดเตล็ด)
(ดู แบบแจกกติปยศัพท์)
ปุ. | อิต. | นปุ. | ||||
1. | อตฺต | ตน | อตฺตา | - | - | ใช้เอกวจนะอย่างเดียว |
2. | พฺรหฺม | พรหม | พฺรหฺมา | - | - | |
3. | ราช | พระราชา | ราชา | ราชินี * | - | |
4. | ภควนฺตุ | พระผู้มีพระภาค | ภควา | - | - | |
5. | อรหนฺต | พระอรหันต์ | อรหํ อรหา | อรหนฺตี * | - | |
6. | ภวนฺต | ผู้เจริญ | ภวํ | โภตี * | - | |
7. | สตฺถุ | พระศาสดา | สตฺถา | - | - | |
8. | ปิตุ | บิดา | ปิตา | - | - | |
9. | มาตุ | มารดา | - | มาตา | - | |
10. | มน | ใจ | มโน | - | มนํ ** | |
11. | กมฺม | กรรม | - | - | กมฺมํ | |
12. | โค | วัว | โค | - | - | ไม่เจาะจงว่าตัวผู้หรือตัวเมีย |
* แจกอย่าง นารี ** แจกอย่าง มน ปุ. ยกเว้น ป. ทุ. อา. แจกอย่าง กุล
อตฺต [ตน - self] ปุงลิงค์ ใช้เอกวจนะอย่างเดียว
พฺรหฺม [พรหม - Brahma] ปุงลิงค์
ราช [พระราชา - king] ทวิลิงค์ (ปุ. อิต.)
ใน ปุ. แจกตามแบบของตน
ใน อิต. ลง อินี ปัจจัย เป็น ราชินี แจกอย่าง นารี
ภควนฺตุ [พระผู้มีพระภาค - Bhagavantu] ปุงลิงค์
อรหนฺต [พระอรหันต์ - arahanta, saint] เป็น ทวิลิงค์
ใน ปุ. แจกเหมือน ภควนฺตุ เว้นแต่ ป. เอก. เป็น อรหา อรหํ เท่านั้น
ใน อิต. ลง อี ปัจจัย เป็น อรหนฺตี แจกอย่าง นารี
คำว่า อรหา ใช้กับพระอรหันต์ทั่วไป ส่วนคำว่า อรหํ ใช้กับพระพุทธเจ้าเท่านั้น
ภวนฺต [ผู้เจริญ] ทวิลิงค์ (ปุ., อิต.)
ใน ปุ. แจกตามแบบของตน
ใน อิต. แปลงเป็น โภต ลง อี ปัจจัย เป็น โภตี แจกอย่าง นารี
สตฺถุ [ผู้สอน, ศาสดา; พระศาสดา - teacher] ปุงลิงค์
มาตุ [มารดา - mother] อิตถีลิงค์
มน [ใจ - mind] ทวิลิงค์ (ปุ., นปุ.)
เป็น อ การันต์ แจกอย่าง ชน หรือ กุล ต่างกันเฉพาะ 5 วิภัตติ คือ ต. จ. ปญฺ. ฉ. ส. เอก. เท่านั้น คือ นา และ สฺมา เป็น อา, ส ทั้งสองเป็น โอ, สฺมึ เป็น อิ แล้วลง ส อาคม เป็น สา, เป็น โส, เป็น สิ.
แจก มน ศัพท์ ปุงลิงค์ อ การันต์
เอก. | พหุ. | |
ป. | มโน | มนา |
ทุ. | มนํ (มโน) | มเน |
ต. | มนสา | มเนหิ |
จ. | มนโส | มนานํ |
ปญฺ. | มนสา | มเนหิ |
ฉ. | มนโส | มนานํ |
ส. | มนสิ | มเนสุ |
อา. | มน | มนา |
ในนปุงสกลิงค์ แจกเหมือนในปุงลิงค์ ยกเว้น ป. ทุ. อา. แจกอย่าง กุล
มน ศัพท์ ใช้ได้ทั้ง 2 วจนะ แต่ยังไม่พบที่ใช้เป็นพหุวจนะ
กมฺม [กรรม - kamma, karma] นปุงสกลิงค์
แจกอย่าง กุล เฉพาะ ต. จ. ปญฺ. ฉ. ส. เอก. แจกอย่างนี้ก็ได้
ต. กมฺมุนา
จ. กมฺมุโน
ปญฺ. กมฺมุนา
ฉ. กมฺมุโน
ส. กมฺมนิ
โค ศัพท์ ใช้ไม่เจาะจงว่าวัวตัวผู้หรือตัวเมีย
ถ้าเป็นตัวผู้ ใช้ โคณ ปุงลิงค์ แจกอย่าง ชน ตัวเมีย ใช้ คาวี อิตถีลิงค์ แจกอย่าง นารี
ศัพท์ 6 ศัพท์ เหล่านี้ มีที่ใช้เฉพาะปฐมาวิภัตติ เอกวจนะ คือ มฆวา, ปุมา, ยุวา, สขา, สา และ อทฺธา ใช้เฉพาะเอกวจนะ
ปุ. ปฐมา. เอก. | อิต. | |
มฆว (ชื่อพระอินทร์) | มฆวา | - |
ปุม (ชาย) | ปุมา | - |
ยุว (ชายหนุ่ม) | ยุวา | ยุวตี แจกอย่าง นารี |
สข (เพื่อน) | สขา | สขี แจกอย่าง นารี |
สา (หมา) |
สา (ใช้ไม่เจาะจงว่าสุนัขตัวผู้หรือตัวเมีย) (สุนโข ตัวผู้ สุนขี ตัวเมีย) |
- |
อทฺธา (กาลยาวนาน, หนทางไกล) * อทฺธา ที่เป็นนิบาต แปลว่า แน่แท้, แน่นอน |
ปุ. เอก. (บางวิภัตติ) ป. อทฺธา ทุ. อทฺธานํ ต. อทฺธุนา จ. ฉ. อทฺธุโน ส. อทฺธาเน |
- |
ความคิดเห็น
เรียนแบบเข้าใจง่ายครับดีมากคร
เรียนแบบเข้าใจง่ายครับดีมากครับ
ได้แนวทางหลักการใช้แล้วครับดี
ได้แนวทางหลักการใช้แล้วครับดีมากๆเลยครับ
บาลีเรียนไม่ยากแต่ยังไม่มีใคร
บาลีเรียนไม่ยากแต่ยังไม่มีใครคิดวิธีการศึกษาอย่างเป็นลำดับขั้นตอน ที่เป็นอยู่ในปัจจุบันคือเรียนไวยกรณ์ให้จบให้หมด (ต้องท่องจำได้ด้วย) แล้วค่อยเรียนแปลธรรมบท 8 ภาค ซึ่งก็แปลโดยการจำมากกว่าความเข้าใจ เพราะบางทีจำได้ว่าประโยคไทยนี้แปลเป็นบาลีได้อย่างไร เพราะต้องท่องธรรมบทกลับไปกลับมาระหว่างไทยกับบาลีจนขึ้นใจทุกเล่ม (8 เล่ม) แต่จะให้อธิบายว่าแต่ละคำมีที่มาอย่างไร (วิธีทำตัว) จะอธิบายได้ไม่สมบูรณ์ และตลอดหลักสูตร ปธ.1-9 ไม่มีการเรียนพระไตรปิฎกเลย!!! ต้องรอนักปฏิรูปบาลีเก่ง ๆ มาทำการปฏิรูปวิธีการศึกษาบาลีใหม่ให้เน้นไปในทางการใช้งานมากขึ้นกว่าการท่องจำ เพราะเดี๋ยวนี้มีกูเกิ้ลแล้ว คงไม่ต้องอาศัยจากจำธรรมบท 8 เล่ม ทั้งไทยและเทศอีกต่อไป แค่กดหาก็พบทันที ควรศึกษาบาลีเป็นไปในทำนองปฏิบัติการมากขึ้น ที่พม่าถึงกับมีการนำบาลีมาเป็นภาษาที่ใช้สำหรับการสื่อสารได้ด้วย พี่ไทยยังล้าหลังอยู่มากในกรณ๊นี้ ทั้ง ๆ ที่เป็นดินแดนแห่งบาลี แดนแห่งพุทธศาสนาเถรวาทแท้ ๆ
สุดยอดด
สุดยอดด
สาธุนำคนทำเจ้าค่ะ!
สาธุนำคนทำเจ้าค่ะ!
เรียบบาลีต้องมีอาจารย์สอนนะ
เรียบบาลีต้องมีอาจารย์สอนนะ คัฟ ไม่อัน แปลไม่ได้ไปไม่ถูก ศิษต้องมีครูคัฟ
ขออนุโมทนา
ขออนุโมทนา กับผู้สร้างสรรเวปดี ๆ อย่างนี้ครับ
พระมหาอนุศักดิ์ จนฺทสีโล
อนุโทนา เราจะพยายาม
อนุโทนา เราจะพยายาม อ่านแล้วทำความเข้า สาธุ ................... สิบหก
ดีครับ อ่านแล้วเข้าใจง่ายดี
ดีครับ อ่านแล้วเข้าใจง่ายดี
จำตรงไหนบ้างคับ
จำตรงไหนบ้างคับ ผมพึ่งอ่านเป็นครั้งแรก ยังไม่เปิดเรียน แต่อยากอ่านไว้ก่อน แนะนำทีคับ ว่าจะเริ่มจำ หรือท่องจำตรงไหนก่อน
บาลีที่แท้จริงแล้วมัน"ไม่ยาก"
บาลีที่แท้จริงแล้วมัน"ไม่ยาก"ที่เราหาว่ามันยากก็เพราะว่าเรามัน"ขี้เกีตจ"นี้แหละทีแท้จริงของเรา ขอจง "ขยัน"เพื่ออนาคตของเราในวันข้างหน้า
เข้าใจยากพอสมควร สำหรับผมนะ
เข้าใจยากพอสมควร สำหรับผมนะ
ผมเริ่มอ่อนหล้าแล้วครับ
ผมเริ่มอ่อนหล้าแล้วครับ
ช่วยเราได้เยอะเลยโยม
ช่วยเราได้เยอะเลยโยม อาตมเรียนอยู่ได้มาอ่านแล้วก็ทำความเข้าใจดีมากอยากให้มีเสียงอธิบายด้วยเข้าเว๊บไหนดีละ เจริญพร
ไม่ยากเกินพยายามครับ
ไม่ยากเกินพยายามครับ ถ้ามีใจรักจะเข้าใจพุทธวัจนะ ด้วยตนเอง รักษากำลังใจ และ เป้าหมาย ที่จะแปลและเข้าใจความหมายในบาลีภาษาให้ได้ตลอดไปน่ะครับ
แต่มันยากที่จะเข้าใจอ่ะครับ
แต่มันยากที่จะเข้าใจอ่ะครับ
รอบมาเรียดูดิคับ
รอบมาเรียดูดิคับ
เรียนบาลีไม่ยากถ้าเราขยันเราก
เรียนบาลีไม่ยากถ้าเราขยันเราก็ได้ประโยก ๑/๒ หรือประโยค ป.ธ.๓ ป.ธ.๔ ป.ธ.๕ ป.ธ.๖ ป.ธ.๗ ป.ธ.๗ ป.ธ.๘ ป.ธ.๙ จบครับ
ดีมากครับ
ดีมากครับ
แสดงความคิดเห็น