ชี้เรียนอยู่ในสำนักเรียนใน กทม. แต่กลับไปสมัครสอบในสนามสอบต่างจังหวัด โดยหากทางสำนักเลขานุการแม่กองบาลีฯตรวจพบ ก็จะกำชับผู้นำข้อสอบให้มีการดูแลสนามสอบแห่งนั้นเข้มงวดเป็นพิเศษ …
การสอบบาลีครั้งที่ 1
ประโยค ป.ธ. 6-7 สอบวันขึ้น 2-3 คํ่า เดือน 3 (วันที่ 17-18 มกราคม 2553)
ประโยค ป.ธ. 8-9 สอบวันขึ้น 4-5-6 คํ่า เดือน 3 (วันที่ 19-20-21 มกราคม 2553)
ประโยค 1-2 สอบวันแรม 10-11 คํ่า เดือน 3 (วันที่ 9-10 กุมภาพันธ์ 2553)
ประโยค ป.ธ. 3 สอบวันแรม 10-11-12 คํ่า เดือน 3 (วันที่ 9-10-11 กุมภาพันธ์ 2553)
ประโยค ป.ธ. 4-5 สอบวันแรม 10-11 คํ่า เดือน 3 (วันที่ 9-10 กุมภาพันธ์ 2553)
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งโครงการทุนเล่าเรียนหลวงสำหรับพระสงฆ์ไทย และพระราชทานทุนปฐมฤกษ์ เมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม 2547
เพื่อสนับสนุนพระภิกษุและสามเณรให้มีโอกาสศึกษาพุทธศาสนาขั้นสูง จากสถาบันพุทธศาสนาในประเทศอันได้แก่ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย และกองบาลีสนามหลวง เริ่มตั้งแต่ปีการศึกษา 2547
เมื่อวันที่ 3 ก.ค. ที่วัดปากน้ำ มีพิธีประกาศรายชื่อสำนักเรียนบาลีดีเด่น ประจำปี 2552 และมอบทุนเล่าเรียนหลวงสำหรับพระสงฆ์ไทยแผนกบาลี ทุนบริหารการศึกษาสำนักเรียน สำนักศาสนศึกษาบาลีดีเด่น โดยมี สมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ เจ้าอาวาสวัดปากน้ำ แม่กองบาลีสนามหลวง เป็นประธาน
พศ.เท 385 ล้าน เพิ่มเงินรายหัวแผนกธรรม-บาลี เพิ่มจากเดิมที่เคยได้ 286 ล้าน เพื่ออุดหนุนผู้เรียนตามหลักสูตรการศึกษาพระปริยัติธรรม ขณะที่ "สมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์" จี้ส่งเสริมการเรียนบาลีในโรงเรียนพระปริยัติธรรมสามัญฯ
![]() |
พระพรหมโมลี
|
สมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ เจ้าอาวาสวัดปากน้ำภาษีเจริญ กรุงเทพฯ ในฐานะแม่กองบาลีสนามหลวง กล่าวในการปิดการตรวจผลสอบประโยคบาลีสนามหลวงอย่างเป็นทางการ ว่า การสอบบาลีสนามหลวง ประจำปี พ.ศ.2552 ถือว่ามีพระสงฆ์และสามเณรเข้าสอบมากกว่าปี 2551 ซึ่งการสอบได้สอบตกนั้นเป็นเรื่องปกติ ผลการสอบเป็นที่น่าพอใจแม้ว่าสถิติผู้สอบได้เปรียญธรรม 9 ประโยค (ป.ธ.9) เมื่อปี 2551 จำนวน 25 รูป และในปีนี้ จะเพิ่มมาเป็น 40 รูป แต่ยังไม่ถึง 50 รูปเหมือนปีก่อนหน้านี้ แต่ไม่ได้หมายความว่าคุณภาพการศึกษาของพระสงฆ์จะด้อยลงไป
หัวข้อที่เพิ่ม/อัพเดท
ประกาศ 3 ก.พ.53
เรื่องการอัพเดทข้อมูลสถิติ-เฉลย ข้อสอบ คงหยุดไว้แค่นี้ก่อนครับ เพราะต้องเร่งทำงานอื่น...
(ขออภัยท่านที่ขอเพลง เอ้ย ขอสถิติมา ด้วยนะครับ งานยุ่งจริงๆ ถึงปลีกตัวมาทำ ก็คงได้เล็กๆ น้อยๆ)
คิดว่าหลังจากสอบเสร็จแล้วจะพยายามปรับปรุงข้อมูลเรื่องนี้ให้สมบูรณ์เท่าที่เป็นไปได้
(แต่ก็นั่นแหละ นักเรียนจะสนใจสถิติข้อสอบก็ตอนใกล้สอบเท่านั้นเอง)
ความจริง สถิติข้อสอบ/ประโยคที่น่าดู (หรือที่เรียกกันว่าเก็ง) ก็เป็นเพียงส่วนหนึ่งที่อาจช่วยให้นักเีรียนรู้สึกอุ่นใจ
แต่นักเรียนที่ดี (ที่ไม่ได้เป็นเพียงนักสอบ) ก็ควรดูหนังสือให้ทั่วถึง ดังที่หลวงพ่อสมเด็จฯ แม่กองบาลีท่านกล่าวไว้
แล้วข้อสอบบาลีช่วงหลังนี้ ก็มีแนวโน้มจะออกนอกเก็งไปทุกทีๆ
คือออกข้อสอบไม่ยากไม่ง่าย แต่ถ้าไม่ได้อ่านไม่ได้แปลมาเลยก็กลายเป็นของยากไป
แถมประโยคสูงปีนี้ มีการออกข้อสอบแบบตัดต่ออีก ใครดูหนังสือไม่ทั่วถึงก็...
แล้วค่อยเจอกันหลังสอบเสร็จครับ
30 ม.ค. 53 (updated)
2 ม.ค. 53
ท่านที่คัดลอกเนื้อหาในเว็บ palidict.com นี้ ไปยังแหล่งอื่น โปรดให้เครดิต ด้วยการอ้างอิงที่มา และช่วยทำลิงค์กลับมาด้วยนะครับ
ขอบคุณครับ
จบ (ไม่ต้องคลิกอ่านต่อ) ...
วัดที่สอบบาลีสนามหลวงได้มากที่สุด ปี 2552
รวมทุกชั้น | เฉพาะเปรียญเอก | ป.ธ.9 | ป.ธ.8 | ป.ธ.7 | ป.ธ.6 | ป.ธ.5 | ป.ธ.4 | ป.ธ.3 | ป.ย.1-2 | |
โสธรวราราม | 150 | 2 | - | - | 2 | 7 | - | 37 | 67 | 37 |
ตากฟ้า | 122 | 3 | 1 | - | 2 | 6 | 2 | 12 | 6 | 93 |
ปิตุลาธิราชรังสฤษฏิ์ | 100 | 0 | - | - | - | - | 1 | 16 | 36 | 47 |
| ป.ธ.9 | ป.ธ.8 | ป.ธ.7 | ป.ธ.6 | ป.ธ.5 | ป.ธ.4 | ป.ธ.3 | ป.ย.1-2 |
วัดที่สอบบาลีได้ในชั้นประโยค ป.ธ.9
วัด | อำเภอ | สำนักเรียน/จังหวัด | |
สอบได้ 2 รูป | เทพลีลา | บางกะปิ | วัดเทพลีลา |
สร้อยทอง | บางซื่อ | วัดสร้อยทอง | |
สุทัศนเทพวราราม | พระนคร | วัดสุทัศนเทพวราราม | |
ชัยมงคล | บางละมุง | ชลบุรี |
เมื่อวันที่ 16 มี.ค. ที่วัดสามพระยา มีการประกาศผลสอบบาลีสนามหลวง ซึ่งถือเป็นสุดยอดของการศึกษาคณะสงฆ์ โดยมี สมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ แม่กองบาลีสนามหลวง วัดปากน้ำ เป็นประธาน และมีพระเถระชั้นผู้ใหญ่ที่ได้รับการยกย่องว่าเป็นสุดยอดนักบาลี รวมทั้งเจ้าสำนักเรียนจากทั่วประเทศ มาร่วมงานท่ามกลางการมารอลุ้นผลสอบของพระภิกษุสามเณร กว่า 400 รูป
ในโอวาทปิดการตรวจข้อสอบบาลีสนามหลวง วันที่ 16 มีนาคม 2552 นี้
เจ้าประคุณ สมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ แม่กองบาลีสนามหลวง
ได้ปรารภเกี่ยวกับโครงการจัดตั้งศูนย์การศึกษาบาลี มีใจความว่า
กองบาลีสนามหลวงจะให้มีโครงการจัดตั้งศูนย์การศึกษาบาลีทั่วประเทศ ภาคละแห่ง รวม 18 แห่ง
โดยมีศูนย์ฯ นำร่อง หรือศูนย์ฯ ทดลอง ก่อน 3 แห่ง ใน 3 ภาค คือ
ร้อยมุมมอง...ส่องอินเดีย
มองอินเดียด้วยตนเอง...ยิ่งกว่าพันคำบอกเล่า หมื่นตำราเรียน
“การได้ท่องเที่ยวไปในโลกกว้าง มีผลดีเสมอ เป็นการฝึกคนเราให้มีทัศนะกว้างไกล บางครั้งเราจะหมกมุ่นอยู่กับความคิดแคบๆ และปัญหาของตนเอง
การมองโลกในภาพรวมจะเห็นว่า ผู้อื่นมีปฏิกิริยาต่อสถานการณ์ชีวิตเขาอย่างไร เห็นอย่างนี้แล้ว จะลดอคติในการตัดสินใจของเรา การยอมรับในวิถีชีวิตและความคิดของผู้อื่นมากขึ้น จะทำให้มีเสรีภาพในหัวใจของเรา ไม่ผูกมัดยึดอยู่แต่กับสิ่งหนึ่งสิ่งใดเกินไป"
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
(จากหนังสือ “ทัศนะจากอินเดีย” หน้า 514)
การศึกษาเป็นกระบวนการสำคัญในการพัฒนาคนให้มีคุณภาพ ซึ่งหากคนมีคุณภาพแล้วย่อมทำให้สังคมมีความเจริญก้าวหน้า การจัดการศึกษาให้คนมีคุณภาพ สอดคล้องกับแผนพัฒนาแห่งชาติ ฉบับที่ 8 ที่ว่า การศึกษาเป็นพื้นฐานที่สำคัญที่สุดประการหนึ่งในการสร้างให้เกิดความเจริญ ก้าวหน้า และสามารถแก้ไขปัญหาต่างๆ ในสังคม ให้คนมีศักยภาพในการพึ่งพาตนเองและสร้างความก้าวหน้า (สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. 2539 : 56-57)